การป้องกันความถี่ต่ำ (Underfrequency Relay)

ในระบบผลิตกำลังไฟฟ้านั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จะเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย ในการเดินเครื่องกำเนิดของ กฟผ. จะจัดให้มีกำลังการผลิตสำรองพร้อมจ่ายทันที (Spinning Reserve) เท่ากับกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในระบบ ประมาณ 700 MW. หากเกิดเหตุขัดข้องในระบบผลิตกำลังไฟฟ้าของ กฟผ. เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าโรงจักรไฟฟ้าต่างๆหยุดจ่ายไฟฟ้ากะทันหัน หรือสายส่งฯลฯ ที่สำคัญๆเชื่อมโยงจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเข้าสู่ระบบขัดข้อง หรือ เกิดอุบัติเหตุเป็นเหตุทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าลดลง กำลังผลิตสำรองที่เหลือจะสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าแทนได้ทันที 

และหากมีผลต่อเนื่องทำให้โรงไฟฟ้าหลุดออกจากระบบเพิ่มมากกว่าปริมาณโหลดที่จ่ายอยู่ในขณะนั้นมากขึ้น จะทำให้มีผลต่อระบบการจ่ายไฟฟ้าโดยรวม วิธีการที่จะช่วยรักษาสภาพการจ่ายไฟฟ้าให้คงอยู่ได้มากและเหมาะสมกับสภาพการผลิตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในขณะนั้น 

การแก้ปัญหาในส่วนของ กฟภ. ก็คือการจัดทำแผน Load Shedding โดยอาศัย Under frequency Relay (UF Relay) ซึ่งจะถูกติดตั้งและ Setting ค่าต่าง ๆ ไว้ตามสถานีไฟฟ้าต่างๆ เพื่อปลดโหลดบางส่วนออก โดยกระจายปลดโหลดไปทั่วประเทศตามความถี่ของระบบที่ต่ำลง เพื่อรักษาเสถียรภาพส่วนใหญ่ของระบบให้คงอยู่ได้ โดย กฟภ. ได้จัดทำแผนปลดโหลดด้วย Under frequency Relay (UF Relay) เพื่อปลดโหลดผู้ใช้ไฟที่ละวงจร หรือฟีดเดอร์ต่างๆ ของหม้อแปลงภายในสถานีไฟฟ้าของ กฟภ. แบ่งเป็น 5 Step โดยจะปลดโหลดออก Step ละ 10% ของโหลด กฟภ. ดังนี้

EGAT& PEA Underfrequency Relay LOAD SHEDDING



รูปร่างลักษณะของเครื่อง Underfrequency Relay รุ่น ต่างๆ
รูปที่ 1 UF Relay ผลิตภัณฑ์ ABB รุ่น DPU2000R

รูปที่ 2 UF Relay ผลิตภัณฑ์ SIEMENS รุ่น 7RW600


รูปที่ 3 UF Relay ผลิตภัณฑ์ GE รุ่น DFP100



8399815230